โรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จังหวัดราชบุรี
วันที่ 19 เมษายน 2024 12:42 PM
b-school04
logo-cโรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียน
หน้าหลัก » นานาสาระ » เคล็ดลับการจำ

เคล็ดลับการจำ

อัพเดทวันที่ 14 ตุลาคม 2020 เข้าดู 258 ครั้ง

เคล็ดลับการจำ ทำอย่างไรให้ไม่ลืมง่าย

เคล็ดลับการจำ เรื่องความจำนั้นจริงจริงแล้วแทบทุกสถานะต้องใช้ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนนักศึกษา วัยทำงานหรือขนาดผู้สูงอายุก็ยังต้องจำแต่ความจำนั้นไม่ได้ง่ายเลยใช่มั้ยละทุกคน การจำสำหรับนักเรียนนักศึกษาก็คงต้องใช้สำหรับการอ่านหนังสือสอบ ใช้สำหรับทางการเรียนส่วนวัยทำงานก็จำเป็นต้องใช้ในส่วนของการทำงาน

อาจจะต้องจดจำในที่ประชุมถึงจะสามารถเขียนหรือจดลงบันทึกได้แต่ในบางครั้งหากจำเป็นต้องนึกถึงนั่นก็คือต้องใช้ความจำเข้ามาช่วยส่วนมากเราจะสามารถจดจำเรื่องราวในอดีตได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้างดูภาพยนตร์แล้วจำได้ อาจเพราะนั่นคือประสบการณ์ตรงที่เราได้พบเจอกับตัวเอง แต่พอต้องใช้ความจำในเรื่องความรู้กลับ

ไม่สามารถจำได้ทั้งหมดทั้งสิ่งที่เคยเรียนมาก่อนหน้าและสิ่งที่กำลังเรียนอยู่ เรามักจะลืมได้ต้องเข้าใจว่าสมองของเรามีพื้นที่จำกัดและสามารถล้นหรือเต็มได้ถ้าสิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาไม่ได้มีการทบทวนมากพอ ไม่มีการทำซ้ำหรือนำมาใช้ก็จะทำให้เราลืมสิ่งนั้นได้ในระยะเวลาไม่นานนักถ้าสังเกตุจากตัวเราเองเวลาเรียนอะไรเพิ่มเติมมา

ตอนเรียนก็ต้องจดเพราะพอเรียน จบมักจะลืม จดเพื่อเอามาอ่านทบทวนถ้าอ่านบ่อย ๆ ก็จะจำได้ แต่ถ้าหากไม่มีการจดให้นึกถึงแค่ในห้องเรียนว่าผู้สอนพูดอะไร สอนอะไรไปบ้างนักเรียนน้อยคนนักที่จะสามารถจดจำได้อย่างแม่นยำ นักเรียนนักศึกษาส่วนมากจะจดไว้ในสมุดหรือหนังสือพอเริ่มเรียนวิชาใหม่ก็มักจะลืมมาทบทวน

กันอีกทีก็เป็นช่วงเตรียมสอบก่อนสอบก็จะใช้วิธีท่องจำบ้าง อ่านซ้ำทบทวนหลาย ๆ รอบบ้างถึงจะสามารถจำและเอาไปใช้ตอบคำถามในข้อสอบ การจำแบบนี้เรียกว่า “การจดจำที่ถูกบังคับ”

“การจดจำที่ถูกบังคับ”
ถึงแม้ว่าวิธีการนี้จะช่วยให้เราสามารถจดจำข้อมูลใหม่ ๆ ได้นานขึ้น แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก เพราะเหมือนเป็นการบังคับให้จดจำ เหมือนถูกยัดเยียดให้จำถึงจะสามารถจดจำได้รวดเร็วแต่สมองของคนเราจะไม่ค่อยเปิดรับวิธีการจดจำแบบนี้สักเท่าไหร่แล้วจะทำอย่างไรหากต้องจดจำสิ่งใหม่ ๆให้ได้จะเข้าไปลบความทรงจำเก่าก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้เคล็ดลับและวิธีการที่จะจดจำได้ดีในเวลาสั้น ๆ เพื่อนำไปใช้ในห้องสอบ ก็คือ

-การทบทวนซ้ำหลังจากเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เข้ามาทันที อันนี้สามารถเห็นได้จากครูและอาจารย์ส่วนใหญ่หลังสอนเสร็จจะมีคำถามเพื่อให้ผู้เรียนตอบ เหมือนเป็นการทบทวนบทเรียนทันทีที่เรียนนี่ก็สามารถทำให้เราจำได้ดีมากขึ้น
-ทบทวนซ้ำหลังจากเว้นระยะเวลาไปประมาณ 20 นาทีหลังจากที่เราทบทวนทันทีหลังการเรียนรู้ใหม่เราควรพักสมองทำกิจกรรมอย่างอื่นให้สมองผ่อนคลายและหลังจากนั้นค่อยกลับมาทบทวนซ้ำใหม่อีกครั้ง
-กลับมาทบทวนสิ่งที่เรียนรู้อีกครั้งหลัง 6-8 ชั่วโมงหลังจากทำสองขั้นตอนข้างต้นนั่นหมายความว่าการทบทวน ฝึกการจำ ครั้งนี้เป็นการทบทวนครั้งที่ 3
-หลังจากทบทวนไปทั้งหมด 3 ครั้งแล้วให้เว้นระยะและทบทวนอีกครั้งหลังจาก 24ชั่วโมง นับจากชั่วโมงที่เรียนสิ่งนั้นในครั้งแรก

เคล็ดลับการจำ ทำอย่างไรให้ไม่ลืมง่าย

ส่วนเคล็ดลับที่จะพูดถึงต่อจากนี้เป็นการนำไปใช้ให้จำได้เป็นเวลาที่นานมากขึ้นสำหรับข้อมูลที่เราต้องการจำให้ได้ระยะเวลานานที่สุด ขยายเวลาจากเทคนิคแรกขั้นตอนที่ 1 หลังการเรียนรู้ให้ทบทวนทันที

ขั้นตอนที่ 2 ทบทวนหลังจากเรียนรู้ 20-30 นาที พักสมองแล้วกลับมาทบทวนซ้ำอีกครั้ง
ขั้นตอนที่ 3 ทบทวนซ้ำหลังจากเรียนรู้ไป 24 ชั่วโมง สังเกตุได้ว่า 3 ขั้นตอนนี้จะคล้ายคล้ายเคล็ดลับการจดจำให้ได้ในระยะเวลาสั้นสั้น แต่ในขั้นตอนต่อไปจะมีความแตกต่าง
ขั้นตอนที่ 4 ทบทวนสิ่งที่เรียนรู้ไปหลัง 2-3 สัปดาห์
ขั้นตอนที่ 5 ทบทวนสิ่งที่เรียนรู้หลังระยะเวลาผ่านไป 2-3 เดือน

ในขั้นตอนดังกล่าวจะช่วยทำให้เราจดจำข้อมูลไว้เพราะมีการทบทวนซ้ำ ๆ เหมือนค่อยค่อยป้อนข้อมูลเข้าไปไม่รีบเร่งจนเกินไป มีการทบทวนหลายครั้ง ซ้ำซ้ำ เรื่อยเรื่อย ทำให้เราไม่ลืมข้อมูล นอกจากนั้นยังมีเคล็ดลับที่ช่วยในการจดจำมาแนะนำให้สามารถจำได้รวดเร็วมาก ขึ้นและจำได้ในระยะเวลาที่นานขึ้น

-ใช้หนังสือที่มีแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดหมายถึงหนังสือที่มีการปรับเปลี่ยนข้อมูลที่ใหม่ล่าสุด ครบถ้วนมากที่สุด
-วาดภาพช่วยจำ อย่างเช่นการวาด “Mind Mapping” หรือ “แผนภูมิความคิด”เพราะการเริ่มวาดจะทำให้สมองเราคิดตามและต่อยอดออกไปช่วยกระตุ้นการจดจำและไม่น่าเบื่อ
-การใช้เครื่องอัดเสียง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเราสามารถจดจำเนื้อเพลงที่เราฟังบ่อย ๆได้แล้วทำไมเราจะจดจำสิ่งที่เราเปิดฟังซ้ำ ๆ ไม่ได้
-เลือกจดจำเป็นหัวข้อ ส่วนรายละเอียดเลือกจำเป็น Key Wordเพื่อเราจำหัวข้อได้พร้อมคำที่สำคัญเราจะสามารถเอามาขยายความต่อยอดออกไปได้
-ใช้ความเข้าใจ พยายามไม่ท่องจำอย่างเดียวควรจำและทำความเข้าใจข้อมูลทั้งหมดนั่นหมายถึงในการอ่านรอบแรกควรสรุปใจความสำคัญเป็นภาษาง่าย ๆในแบบของตนเอง
-จดจำข้อมูลที่จำเป็น เลือกจำข้อมูลที่ช่วยให้เราหยิบยกไปใช้ได้อย่างมีประโยชน์
-หาสิ่งที่เป็นใจความสำคัญในตอนต้นและตอนท้าย เช่น สิ่งที่เราเรียนรู้อยู่นั้นเกิดจากอะไรและผลสุดท้ายเป็นอย่างไร เพราะคนเรานั้นมักจะจดจำสิ่งที่เริ่มต้นและตอนจบ เคล็ดลับต่างต่างเหล่านี้ถ้าสังเกตุดูดีดีต้องอาศัยระยะเวลาและการทบทวน

การทำซ้ำ เพื่อให้เกิดการจดจำ ถ้าดูจากนักเรียนนักศึกษาที่ประสบผลสำเร็จมีคะแนนสูง ส่วนมากนักเรียน นักศึกษาเหล่านั้นจะทบทวนอ่านบทเรียนหลายครั้งตั้งแต่ยังไม่ถึงเวลาสอบอันนี้คือการทำซ้ำกับข้อมูลใหม่และจะสามารถจดจำได้ในระยะเวลานานมากขึ้นแต่สำหรับบางคนจะอ่านหนังสือทบทวนในช่วงเวลาก่อนการสอบเท่านั้น

ก็จะไปตรงกับเคล็ดลับการจดจำในระยะเวลาสั้นสั้น อย่างไรก็ตามหากเราต้องการจดจำข้อมูลใหม่ใหม่เพิ่มเติมก็จดจำในรูปแบบของตัวเอง นั่นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ละคนมีความสามารถและศักยภาพที่แตกต่างกัน แต่เชื่อเถอะว่าหากเราพยายามและตั้งใจกับสิ่งที่เราต้องการทำ ถึงครั้งแรก ครั้งที่สองจะไม่สำเร็จ หากยังไม่หยุดพยายามและยังไม่ล้มเลิกความตั้งใจสักวันหนึ่งเราก็จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก ยังไงก็ลองเอาเคล็ดลับช่วยจำเหล่านี้ไปใช้กันดูนะคะ

นานาสาระ ล่าสุด